เรียนอาจารย์จ๋าที่เคารพรักอย่างยิ่ง
เนื่องจาก ดิฉันนางสาวศิริรักษ์ คงคารักษ์ จะขอลาป่วยในวันจันทร์ที่26มกราคม
เพราะมีอาการเป็นหวัดเจ็บคอสาเหตุมาจากการไปเข้าค่ายอบรมจริยธรรมไม่สามารถมาเรียนได้ตามปกติจึงเรียนมาเพื่อทราบค่ะอาจารย์
ด้วยความเคารพอย่างสูง
นางสาวศิริรักษ์ คงคารักษ์
วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2551
วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2550
เพลงคณิตศาสตร์
เพลงลองนับดูสิ.
นิ้ว นิ้ว นิ้ว นิ้วมือมีข้างละห้า.
สองมือรวมกันเข้ามา นับนิ้วนั้นหนาได้เท่าไหร.
ฉันนับได้สิบนิ้วเอย.
บทความคณิตศาสตร์
แนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน(ยุดา กีรติรักษ์ )
ครูผู้สอนคงจะมีปัญหาที่ต้องถามตนเองว่า จะสอนคณิตศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร ก่อนอื่น เราคงต้องพิจารณาคำว่า "คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน" คำนี้น่าจะหมายถึงอย่างอะไร คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน น่าจะหมายถึง การใช้วิธีการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ในการแก้ไขปัญหาบางประการในชีวิตประจำวัน เช่น ถ้านักเรียนจะเดินทางจากจังหวัดแพร่มากรุงเทพฯ อยากจะทราบว่า ค่าใช้จ่ายในการเดินทางโดยทางรถไฟ กับรถยนต์โดยสารปรับอากาศ เมื่อรวมค่ารถรับจ้างจากสถานีรถไฟ หรือสถานีขนส่งสายเหนือที่นักเรียนจะต้องจ่ายแล้ว ควรจะเลือกเดินทางด้วยวิธีใดดี ปัญหาที่กล่าวมานี้ใช้การบวกในการแก้ปัญหา
ครูผู้สอนคงจะมีปัญหาที่ต้องถามตนเองว่า จะสอนคณิตศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร ก่อนอื่น เราคงต้องพิจารณาคำว่า "คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน" คำนี้น่าจะหมายถึงอย่างอะไร คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน น่าจะหมายถึง การใช้วิธีการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ในการแก้ไขปัญหาบางประการในชีวิตประจำวัน เช่น ถ้านักเรียนจะเดินทางจากจังหวัดแพร่มากรุงเทพฯ อยากจะทราบว่า ค่าใช้จ่ายในการเดินทางโดยทางรถไฟ กับรถยนต์โดยสารปรับอากาศ เมื่อรวมค่ารถรับจ้างจากสถานีรถไฟ หรือสถานีขนส่งสายเหนือที่นักเรียนจะต้องจ่ายแล้ว ควรจะเลือกเดินทางด้วยวิธีใดดี ปัญหาที่กล่าวมานี้ใช้การบวกในการแก้ปัญหา
ตัวอย่าง ของปัญหาที่ใช้การคำนวณร้อยละใน การแก้ปัญหา เช่น ถ้านักเรียนคนหนึ่ง ไปแข่งขันตอบปัญหาของหนังสือรายสัปดาห์ฉบับหนึ่ง ได้เงินรางวัลมา 50,000 บาท และจะใช้เงินจำนวนที่ได้ในอีก -1 เดือนข้างหน้า จีงคิดว่า ถ้านำเงินจำนวนนี้ไปฝากธนาคารไว้ก่อน โดยฝากในบัญชีเงินฝากประจำประเภท -1 เดือน ได้ดอกเบี้ยร้อยละ 8.5 แต่จะต้องเสียภาษี 15% ต่อปี กับถ้าฝากเงินแบบออมทรัพย์ ได้ดอกเบี้ยร้อยละ 6.75 ต่อปี นักเรียนควรจะฝากแบบใดจึงจะได้ดอกเบี้ยมากกว่ากัน เป็นต้น ปัญหาในชีวิตประจำวันในลักษณะดังกล่าว ครูผู้สอนอาจจะให้โจทย์ปัญหา และให้นักเรียนช่วยกันหาข้อมูลที่จะมาใช้แก้ปัญหา (เช่น หาอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคาร) แล้วมาช่วยกันหาคำตอบในชั่วโมงกิจกรรม หรือครูให้เป็นการบ้านพิเศษ ก็น่าจะเป็นวิธีการที่จะทำให้นักเรียนได้มองเห็น ประโยชน์ของคณิตศาสตร์ได้ โดยใช้คำถามทำนองนี้เป็นเครื่องมือ รวมทั้งจะเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในการเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้นด้วย
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมการสอนคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน โดยยกตัวอย่างจากเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตัวนักเรียน โจทย์คำถามในลักษณะข้างต้น เป็นตัวอย่างในการที่จะเชื่อมโยงการแก้ปัญหาบางประการ ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งเป็นการฝึกให้นักเรียนรู้จักวางแผนการทำงาน โดยใช้คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือ โจทย์ในทำนองดังกล่าวนี้ มีหลายเรื่องที่ครูผู้สอนจะนำมาใช้ได้ ข้อที่ควรคำนึงถึงก็คือ เวลาจะให้โจทย์ในลักษณะนี้ ครูผู้สอนควรฝึกให้นักเรียนรู้จักไปหาข้อมูลมาด้วยตัวเอง โดยครูอาจจะแนะแหล่งที่จะไปหาข้อมูล และเมื่อนักเรียนแก้ปัญหาโจทย์ได้แล้ว ครูควรสรุปคำถาม และควรมีข้อเสนอแนะอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดความรู้ความคิดกว้างขวางขึ้น นอกเหนือจากการมีความรู้แต่เพียงการเรียนในชั้นเรียน ทั่งนี้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของครูผู้สอนว่า มีความพร้อมหรือไม่ และกิจกรรมดังกล่าวเหมาะสมกับชั้นเรียนของท่านหรือไม่ เพียงใดด้วย
ตัวอย่างงานวิจัยคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก
เนื้อหา
ความเป็นมา
- สังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างรวดเร็ว เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม และวิทยาการด้านต่าง ๆ รวมถึงการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ สะดวก กว้างขวาง คนในประเทศชาติในขณะเดียวกันควรได้รับการพัฒนาให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพและศักยภาพ การศึกษาจึงมีบทบาทโดยตรงในการสร้างคนของประเทศ รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของการศึกษาจึงมีนโยบายสนับสนุนการศึกษา ดังปรากฏในแผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 7 คือ การเปิดขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กทั้งระดับบนและระดับล่าง โดยในระดับล่างได้กำหนดให้โรงเรียนประถมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนทั้งในระดับเมืองและระดับท้องถิ่น จัดบริการการเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กอย่างน้อย 1 ปี ก่อนเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2535 หน้า 9) การจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษามีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างเสริมพัฒนาการของเด็กให้เจริญเติบโตเต็มศักยภาพในทุก ๆดาน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาและภาษา โดยจัดในลักษณะที่มุ่งเตรียมความพร้อมทางการเรียนให้แก่เด็ก เนื่องจากความพร้อมเป็นองค์ประกอบที่สุดยิ่งของการเรียนรู้ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2532 หน้า 1) การเตรียมความพร้อมในเด็กปฐมวัย หรือเด็กก่อนเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับจะช่วยสร้างทัศนติที่ดีต่อการเรียนของเด็ก ช่วยปูพื้นฐานให้เด็กดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข และพร้อมที่จะฝึกทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการเรียนในระดับประถมศึกษาได้อย่างมีคุณภาพต่อไปการจะพัฒนาความพร้อมหรือการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กนั้น อาจอยู่กับปัจจัยใหญ่ ๆ 2 ประการ คือ ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกตัวเด็ก ปัจจัยภายในตัวเด็กที่สำคัญอย่างหนึ่งคือวุฒิภาวะ ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ อายุของเด็กจะบอกถึงวุฒิภาวะและความพร้อมของเด็กแต่ละคนที่ไม่ใช่เรื่องตายตัว เด็กแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันไป บางครั้งทำให้เกิดความลำเอียงแก่เด็ก หากผู้สอนคิดว่าเด็กทุกคนมีความพร้อมที่จะเรียนเมื่อเริ่มเข้าโรงเรียน ทั้ง ๆ ที่บางคนมีความพร้อมมาก่อนหน้านี้ บางคนไม่พร้อมและอีกหลายๆ คนต้องอาศัยระยะเวลาอีกระยะหนึ่งจึงจะมีความพร้อม ส่วนปัจจัยภายนอกตัวเด็กคือสิ่งที่ผู้สอนจัดให้แก่เด็ก เพื่อการเตรียมความพร้อมตามจุดประสงค์ที่จัดประสบการณ์ตั้งเอาไว้ ดังจะเห็นความแตกต่างกันของความพร้อมในบุคคลหนึ่ง อาจต้องขึ้นกับปัจจัยทั้งภายในและภายนอกตัวเด็กเองคณิตศาสตร์เป็นวิชาทักษะพื้นฐานที่สำคัญวิชาหนึ่งที่จะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็ก อีกทั้งเป็นวิชาที่ครูและผู้ปกครองให้ความสำคัญเสมือนดรรชนีชี้บ่งระดับสติปัญญาของเด็กด้วย กระทรวงศึกษาธิการได้บรรจุวิชาคณิตศาสตร์ไว้ในหลักสูตรประถมศึกษา โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในหลักคณิตศาสตร์ รู้คุณค่านำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้และฝึกฝนให้คนมีเหตุผลมีความละเอียดถี่ถ้วน ถ้าไม่ได้ปูพื้นฐานประสบการณ์ที่ดีตั้งแต่เล็ก อาจส่งผลต่อทัศนคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ในอนาคตได้ ดังจะเห็นได้ว่าผู้ใหญ่หลายคนก็ไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ ฉะนั้นครูและผู้ปกครองควรปูพื้นฐานประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุขโดยผ่านสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ทางหู ตา จมูก ลิ้น และกายสัมผัส เนื่องจากเด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ดีกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรม เมื่อเด็กชั้นประถมศึกษาตอนต้น ครูจะสอนด้วยวิธีการใช้สัญลักษณ์คือสอนด้วยวาจา ภาษาเขียน โครงสร้างทางคณิตศาสตร์ เครื่องหมายหรือจำนวน และการทำแบบฝึกหัดให้จับคู่ภาพกับจำนวน ซึ่งดูคล้ายเป็นประสบการณ์รูปธรรม แต่ที่จริงแล้วการจับคู่สัญลักษณ์กับเครื่องหมายเป็นประสบการณ์นามธรรม ในระบบการเรียนการสอนในปัจจุบันที่สามารถพบเห็นได้บ่อย ๆ คือ ครูจะให้เด็กจับคู่รูปภาพกับสัญลักษณ์ในทั้ง 2 ระดับ คือ ระดับปฐมวัย และชั้นประถมศึกษาตอนต้น ในความเป็นจริงโครงสร้างการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยและเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 อาจไม่ต่างกันมากนัก ฉะนั้นเด็กระดับนี้ควรได้รับการจัดประสบการณ์ให้อย่างถูกต้องและเหมาะสมการสอนหรือการจัดประสบการณ์อย่างไม่เหมาะสม อาจทำให้เด็กมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ จากสิ่งที่พบในการเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัยดังที่กล่าวมา ทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาพฤติกรรมการสอนของครูที่จะส่งผลถึงการเตรียมความพร้อมและพัฒนาการด้านทักษะคณิตศาสตร์ให้กับเด็กที่ได้ผลดีและเหมาะสมโดยเลือกศึกษาจากครูผู้สอนเด็กก่อนวัยเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอเมืองเชียงใหม่ การวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ เพื่อ่ส่งเสริมการเตรียมความพร้อมด้านทักษะคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยหรือเด็กวัยก่อนประถมศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
แนวคิดทฤษฎี
1. พฤติกรรมการสอนของครู ในการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ครอบคลุมพฤติกรรมดังนี้ คือ
ความเป็นมา
- สังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างรวดเร็ว เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม และวิทยาการด้านต่าง ๆ รวมถึงการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ สะดวก กว้างขวาง คนในประเทศชาติในขณะเดียวกันควรได้รับการพัฒนาให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพและศักยภาพ การศึกษาจึงมีบทบาทโดยตรงในการสร้างคนของประเทศ รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของการศึกษาจึงมีนโยบายสนับสนุนการศึกษา ดังปรากฏในแผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 7 คือ การเปิดขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กทั้งระดับบนและระดับล่าง โดยในระดับล่างได้กำหนดให้โรงเรียนประถมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนทั้งในระดับเมืองและระดับท้องถิ่น จัดบริการการเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กอย่างน้อย 1 ปี ก่อนเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2535 หน้า 9) การจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษามีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างเสริมพัฒนาการของเด็กให้เจริญเติบโตเต็มศักยภาพในทุก ๆดาน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาและภาษา โดยจัดในลักษณะที่มุ่งเตรียมความพร้อมทางการเรียนให้แก่เด็ก เนื่องจากความพร้อมเป็นองค์ประกอบที่สุดยิ่งของการเรียนรู้ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2532 หน้า 1) การเตรียมความพร้อมในเด็กปฐมวัย หรือเด็กก่อนเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับจะช่วยสร้างทัศนติที่ดีต่อการเรียนของเด็ก ช่วยปูพื้นฐานให้เด็กดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข และพร้อมที่จะฝึกทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการเรียนในระดับประถมศึกษาได้อย่างมีคุณภาพต่อไปการจะพัฒนาความพร้อมหรือการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กนั้น อาจอยู่กับปัจจัยใหญ่ ๆ 2 ประการ คือ ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกตัวเด็ก ปัจจัยภายในตัวเด็กที่สำคัญอย่างหนึ่งคือวุฒิภาวะ ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ อายุของเด็กจะบอกถึงวุฒิภาวะและความพร้อมของเด็กแต่ละคนที่ไม่ใช่เรื่องตายตัว เด็กแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันไป บางครั้งทำให้เกิดความลำเอียงแก่เด็ก หากผู้สอนคิดว่าเด็กทุกคนมีความพร้อมที่จะเรียนเมื่อเริ่มเข้าโรงเรียน ทั้ง ๆ ที่บางคนมีความพร้อมมาก่อนหน้านี้ บางคนไม่พร้อมและอีกหลายๆ คนต้องอาศัยระยะเวลาอีกระยะหนึ่งจึงจะมีความพร้อม ส่วนปัจจัยภายนอกตัวเด็กคือสิ่งที่ผู้สอนจัดให้แก่เด็ก เพื่อการเตรียมความพร้อมตามจุดประสงค์ที่จัดประสบการณ์ตั้งเอาไว้ ดังจะเห็นความแตกต่างกันของความพร้อมในบุคคลหนึ่ง อาจต้องขึ้นกับปัจจัยทั้งภายในและภายนอกตัวเด็กเองคณิตศาสตร์เป็นวิชาทักษะพื้นฐานที่สำคัญวิชาหนึ่งที่จะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็ก อีกทั้งเป็นวิชาที่ครูและผู้ปกครองให้ความสำคัญเสมือนดรรชนีชี้บ่งระดับสติปัญญาของเด็กด้วย กระทรวงศึกษาธิการได้บรรจุวิชาคณิตศาสตร์ไว้ในหลักสูตรประถมศึกษา โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในหลักคณิตศาสตร์ รู้คุณค่านำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้และฝึกฝนให้คนมีเหตุผลมีความละเอียดถี่ถ้วน ถ้าไม่ได้ปูพื้นฐานประสบการณ์ที่ดีตั้งแต่เล็ก อาจส่งผลต่อทัศนคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ในอนาคตได้ ดังจะเห็นได้ว่าผู้ใหญ่หลายคนก็ไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ ฉะนั้นครูและผู้ปกครองควรปูพื้นฐานประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุขโดยผ่านสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ทางหู ตา จมูก ลิ้น และกายสัมผัส เนื่องจากเด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ดีกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรม เมื่อเด็กชั้นประถมศึกษาตอนต้น ครูจะสอนด้วยวิธีการใช้สัญลักษณ์คือสอนด้วยวาจา ภาษาเขียน โครงสร้างทางคณิตศาสตร์ เครื่องหมายหรือจำนวน และการทำแบบฝึกหัดให้จับคู่ภาพกับจำนวน ซึ่งดูคล้ายเป็นประสบการณ์รูปธรรม แต่ที่จริงแล้วการจับคู่สัญลักษณ์กับเครื่องหมายเป็นประสบการณ์นามธรรม ในระบบการเรียนการสอนในปัจจุบันที่สามารถพบเห็นได้บ่อย ๆ คือ ครูจะให้เด็กจับคู่รูปภาพกับสัญลักษณ์ในทั้ง 2 ระดับ คือ ระดับปฐมวัย และชั้นประถมศึกษาตอนต้น ในความเป็นจริงโครงสร้างการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยและเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 อาจไม่ต่างกันมากนัก ฉะนั้นเด็กระดับนี้ควรได้รับการจัดประสบการณ์ให้อย่างถูกต้องและเหมาะสมการสอนหรือการจัดประสบการณ์อย่างไม่เหมาะสม อาจทำให้เด็กมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ จากสิ่งที่พบในการเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัยดังที่กล่าวมา ทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาพฤติกรรมการสอนของครูที่จะส่งผลถึงการเตรียมความพร้อมและพัฒนาการด้านทักษะคณิตศาสตร์ให้กับเด็กที่ได้ผลดีและเหมาะสมโดยเลือกศึกษาจากครูผู้สอนเด็กก่อนวัยเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอเมืองเชียงใหม่ การวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ เพื่อ่ส่งเสริมการเตรียมความพร้อมด้านทักษะคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยหรือเด็กวัยก่อนประถมศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
แนวคิดทฤษฎี
1. พฤติกรรมการสอนของครู ในการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ครอบคลุมพฤติกรรมดังนี้ คือ
1) การจัดกิจกรรมประสบการณ์
2) การใช้สื่อการเรียนการสอน
3) การวัดผลและประเมินผล
4) การใช้คำถาม
5) การเสริมแรง
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ครอบคลุมเนื้อหาความพร้อมด้านต่าง ๆ ได้แก่
1) ความหมายสูงต่ำ
2) ความหมายเล็ก-ใหญ่
3) นับเรียงลำดับ 1-30
4) ความหมายหน้า-หลัง
5) ความหมายมาก-น้อย
6) รู้จักสี
7) รู้ค่าจำนวน 1-10
8) การสังเกตและมีขั้นตอน
9) รูปทรงเรขาคณิต
10) ความหมายอ้วน-ผอม
11) ความหมายใกล้-ไกล
12) ความหมายสั้น-ยาว
13) ความหมายบน-ล่าง
14) ความหมายบาง –หนา
15) ความหมายหนัก-เบา
16) ความหมายมี-ไม่มี
17) ลำดับที่ 1-10
วัตถุประสงค์
- 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสอนของครูในการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนประถมศึกษา2. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางด้านความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
สมมุติฐานการวิจัย
-
ระเบียบวิธีวิจัย
- การวิจัยเชิงสำรวจ
ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนในระดับอนุบาลปีที่ 2 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2541 จำนวน 35 คน จากโรงเรียน 31 โรงเรียน
ตัวแปร
-
นิยามศัพท์
- เด็กปฐมวัย หมายถึง นักเรียนชั้นอนุบาล 2 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกดัสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่พฤติกรรมการสอนของครู หมายถึง พฤติกรรมการจัดประสบการณ์เตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์โดยครอบคลุมพฤติกรรมด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งได้ศึกษาขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุปบทเรียน รวมถึงการใช้สื่อการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล การใช้คำถามและการเสริมแรงผลสัมฤทธิ์ทางด้านความพร้อมทางคณิตศาสตร์ หมายถึง ระดับ ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนทุกคนที่ได้จากกาประเมินโดยภาพรวมของครูผู้ตอบแบบสอบถาม ตามขอบเขตเนื้อหาการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ที่ระบุไว้ในขอบเขตเนื้อหาการวิจัย ซึ่งแบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับดีมาก ดี ผ่าน และไม่ผ่าน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
- เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ แบ่งออกเป็น 4 ตอน คือตอนที่ 1 สถานภาพทั่วๆ ไปของครูผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 7 ข้อตอนที่ 2 พฤติกรรมการสอนในการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ถามเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ การใช้สื่อการเรียนการสอน การวัดผลและการประเมินผล จำนวน 48 ข้อตอนที่ 3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความพร้อมทางคณิตศาสตร์ จำนวน 17 ข้อ ซึ่งเป็นลักษณะการประเมินของครูโดยภาพรวม จากนักเรียนทั้งชั้นตอนที่ 4 สภาพปัญหาในด้านต่างๆ ซึ่งเป็นคำถามปลายเปิด (Open-ended Questionnaires) ดังต่อไปนี้1.1 สภาพปัญหา ด้านหลักสูตรและแผนการจัดประสบการณ์ การจัดกิจกรรมการเรียน การสอน สื่อการเรียนการสอน การประเมินผล การใช้คำถาม การเสริมแรง ด้านอื่นๆ1.2 ความต้องการด้านหลักสูตรและแผนการจัดประสบการณ์ การจัดกิจกรรมการเรียน การสอน สื่อการเรียนการสอน การประเมินผล การใช้คำถาม การเสริมแรง ด้านอื่นๆ
วิธีการรวบรวมข้อมูล
-
การวิเคราะห์ข้อมูล
- ข้อมูลจากแบบสอบถามที่เป็นลักษณะเลือกตอบและแบบสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ ส่วนข้อมูลในแบบสอบถามปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์
สรุปผลวิจัย
- 1. การจัดกิจกรรม ประสบการณ์ การเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ พบว่า ครูส่วนใหญ่จัดกิจกรรมเป็นไปตามหลักการสอนทุกขั้นตอน กล่าวคือ มีขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ขั้นสรุปบทเรียน และการวัดผลประเมินผล ซึ่งขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เทคนิควิธีการที่ครูส่วนใหญ่นิยมใช้ คือ เพลง นิทาน เกม รูปภาพ และหุ่นมือ ขั้นจัดกิจกรรมการสอนครูสามารถจัดกิจกรรมการสอนสอดคล้องกับจุดประสงค์และเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ ในการสอนแต่ละครั้งครูมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย กิจกรรมที่ครูใช้มากที่สุด 5 กิจกรรมแรก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การสังเกต การเปรียบเทียบ การซักถาม เกม และการจับคู่ กับการจัดหมวดหมู่ สำหรับการสรุปบทเรียนครูส่วนใหญ่ใช้วิธีการซักถาม รองลงมาได้แก่ การสรุปความเห็นร่วมกันกับของนักเรียน การใช้เพลงและการอธิบาย ด้านการวัดผลประเมินผล ครูส่วนใหญ่ใช้วิธีการสังเกต โดยอาศัยแบบบันทึกการสังเกต ประกอบมากที่สุด รองลงมาได้แก่ การสัมภาษณ์และแฟ้มสะสมงานด้านสื่อการเรียนการสอน พบว่า สื่อที่ครูส่วนใหญ่นิยมใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ได้แก่ ของจริง ของจำลอง และสื่อที่ครูสร้างขึ้นเองโดยอาศัยเศษวัสดุและวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งการใช้สื่อแต่ละครั้งครูจะใช้ลักษณะเป็นสื่อประสมด้านการใช้คำถาม และการเสริมแรงพบว่า ครูใช้คำถามระหว่างการสอนในระดับมาก คำถามส่วนใหญ่เป็นคำถามประเภทความเข้าใจ การนำไปใช้ โดยการถามครูจะตั้งคำถามก่อนแล้วจึงเรียกนักเรียนตอบ และทิ้งช่วงเวลาให้เด็กคิดคำตอบ ขณะเดียวกันครูก็เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถามได้ตามความต้องการด้านการเสริมแรงนั้นพบว่า ความถี่ของการใช้การเสริมแรงของครูอยู่ในระดับปานกลาง วิธีการเสริมแรงที่ครูนิยมใช้มาก ได้แก่ การให้รางวัล การยอมรับความสำเร็จของนักเรียน และการให้คะแนน ซึ่งครูให้การเสริมแรงนักเรียนทั้งเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่มและทั้งชั้น2. ผลสัมฤทธิ์ด้านความพร้อมทางคณิตศาสตร์ จากการประเมินนักเรียนโดยภาพรวมทั้งชั้นของครูพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ผ่านจุดประสงค์ด้านความพร้อมทางคณิตศาสตร์ระดับดีมาก โดยครูร้อยละ 50 ขึ้นไป ประเมินให้นักเรียนระดับดีมากถึง 10 เรื่องจา ก 17 เรื่อง ตามขอบเขตเนื้อหาในหลักสูตร รองลงมาผ่านจุดประสงค์ระดับดี และผ่านตามลำดับ3. สภาพปัญหาและความต้องการ พบว่า มีบางชั้นเรียนที่มีนักเรียนชาวเขาเรียนปนอยู่กับนักเรียนปกติ ทำให้ครูประสบปัญหาด้านการสื่อสารและการจัดกิจกรรมอย่างมาก สื่อการสอนที่ส่วนกลางจัดซื้อให้ไม่สอดคล้องกับความต้องการของครู และขาดสื่อที่ถาวรที่ใช้ร่วมกันหลาย ๆ กิจกรรม และมีครูบางคนไม่ต้องการสอนระดับอนุบาล สำหรับความต้องการของครูนั้น ครูต้องการการอบรมหรือการเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการผลิตสื่อการเรียนในระดับนี้ ตลอดจนต้องการแผนการจัดประสบการณ์หรือหลักสูตรที่สอดคล้องกับผู้เรียนและท้องถิ่น
ข้อเสนอแนะ
- ข้อเสนอแนะทั่วไป1. หลักสูตรของกรมวิชาการหรือแปนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กอนุบาลของสำนักงานคณะ กรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติจัดทำขึ้นเป็นหลักสูตรแม่บทหรือแผนที่เขียนไว้เป็นกลางๆ สำหรับใช้กับโรงเรียนทั่วประเทศ ดังนั้นการที่ครูจะทำแผนการสอนจัดประสบการณ์นี้ไปใช้กับนักเรียนในชั้นเรียนของตนเองคงต้องมีการปรับปรุงหรือพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการที่ใกล้เคียงกัน อาจรวมกลุ่มกันเพื่อประชุมวางแผนและดำเนินการพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์ของตนโดยศูนย์วิชาการกลุ่มหรือศึกษานิเทศก์อำเภอน่าจะมีบทบาทเป็นแกนนำและให้การสนับสนุนครูในเรื่องดังกล่าว ตลอดจนมีการนิเทศติดตามผลการใช้แผนการจัดประสบการณ์ที่พัฒนาขึ้นอย่างใกล้ชิด2. เนื่องจากครูส่วนใหญ่มิได้สำเร็จการศึกษาด้านอนุบาลศึกษาหรือปฐมวันศึกษามาโดยตรงซึ่งมี ความจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานต้นสังกัดที่รับผิดชอบจะต้องจัดให้มีการเพิ่มพูนความรู้ เทคนิคประสบการณ์ทางการศึกษาระดับนี้ให้แก่ครูอยู่ตลอดเวลาและอย่างต่อเนื่อง ไม่จำเป็นรูปแบบของเอกสาร วารสาร คู่มือครู การนิเทศ หรือการอบรมการสัมมนา การประชุมปฏิบัติการและการศึกษาดูงานในโรงเรียนประสบความสำเร็จเพื่อให้ครูได้รับประสบการณ์แนวคิดใหม่ๆ และมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกันจะช่วยให้ครูมีความมั่นใจ และนำประสบการณ์ที่ได้ไปพัฒนาการเรียนการสอนของตนอย่างเป็นระบบและอย่างต่อเนื่อง3. ห้องเรียนที่เป็นกลุ่มประชากรในหลายๆ โรงเรียน มีนักเรียนชาวเขาเรียนร่วมกับนักเรียนพื้นราบทำ ให้ครูประสบปัญหาในการสื่อสารและการจัดกิจกรรม ซึ่งกรณีนี้ครูคงต้องให้ความสำคัญและความสนใจเป็นพิเศษ ตลอดจนต้องใช้ความอดทนอย่างสูง เนื่องจากธรรมชาติของผู้เรียนมีความแตกต่างกัน ครูควรศึกษาธรรมชาติและวัฒนธรรมของเด็กชาวเขาเหล่านั้นเพื่อนำมาเป็นข้อมูลประกอบการจัดกิจกรรมในชั้นเรียนตามความเหมาะสม วิธีการที่น่าจะเป็นประโยชน์ในการจัดกิจกรรมก็คือครูต้องใช้วิธีการสอนแบบธรรมชาติโดยพยายามพูดหรือใช้คำสั่งง่ายๆ สั้นๆ ประกอบการทำกิจกรรมการเรียน ไม่ควรยัดเยียดจนเด็กเกิดความรำคาญ ขณะเดียวกันครูควรใช้ท่าทางหรือการปฏิบัติพร้อมกับการพูดประกอบการใช้สื่อของจริง หรืออาจใช้เด็กที่มีความพร้อมทางภาษาทำให้ดูเป็นตัวอย่างประการสำคัญที่สุดที่ครูควรคำนึงถือ การจัดกิจกรรมนั้นควรยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริงเพื่อให้นักเรียนได้คิด สื่อสาร ได้ปฏิบัติและแสดงออก โดยครูจะต้องจัดกิจกรรม เกม สถานการณ์ เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสใช้ภาษาไทยมากที่สุด ซึ่งการจัดกิจกรรมนั้นอาจทำในหลายๆ ลักษณะ เช่น กิจกรรมเป็นกลุ่มเล็ก กิจกรรมปฏิบัติพร้อมกันทั้งชั้นหรือกิจกรรมเสรี ลักษณะการจัดกลุ่มก็สามารถทำได้หลายลักษณะ เช่น กลุ่มตามความสนใจ หรือจัดลักษณะผสมหรือกลุ่มตามความสามารถ เป็นต้น ขณะเดียวกันครูอาจนำเรื่องราว นิทาน การเล่น วัฒนธรรมของเด็กชาวเขามาสอดแทรกในการจัดกิจกรรมตามความเหมาะสมเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้วัฒนธรรมซึ่งกันและกัน และเพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกการแบ่งแยกระหว่างชาวเขากับชาวพื้นราบเกิดขึ้น ที่สำคัญครูจะต้องให้กำลังใจและให้การเสริมแรงแก่นักเรียนเมื่อนักเรียนประสบความสำเร็จหรือกรณีเกิดการท้อแท้ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป1. การพัฒนาหลักสูตรอนุบาลที่สอดคล้องกับท้องถิ่น2. ศึกษารูปแบบการจัดชั้นเรียนที่มีเด็กสองวัฒนธรรมอยู่ในชั้นเดียวกัน3. การศึกษาพฤติกรรมการสอนของครูในการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในการแนวลึก ซึ่งเป็นลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพ4. อิทธิพลของสื่อและสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ระดับปฐมวัย5. การพัฒนาสื่อ อุปกรณ์ที่มาตรฐาน ในการเตรียมความพร้อมด้านคณิตศาสตร์
วัตถุประสงค์
- 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสอนของครูในการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนประถมศึกษา2. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางด้านความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
สมมุติฐานการวิจัย
-
ระเบียบวิธีวิจัย
- การวิจัยเชิงสำรวจ
ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนในระดับอนุบาลปีที่ 2 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2541 จำนวน 35 คน จากโรงเรียน 31 โรงเรียน
ตัวแปร
-
นิยามศัพท์
- เด็กปฐมวัย หมายถึง นักเรียนชั้นอนุบาล 2 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกดัสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่พฤติกรรมการสอนของครู หมายถึง พฤติกรรมการจัดประสบการณ์เตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์โดยครอบคลุมพฤติกรรมด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งได้ศึกษาขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุปบทเรียน รวมถึงการใช้สื่อการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล การใช้คำถามและการเสริมแรงผลสัมฤทธิ์ทางด้านความพร้อมทางคณิตศาสตร์ หมายถึง ระดับ ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนทุกคนที่ได้จากกาประเมินโดยภาพรวมของครูผู้ตอบแบบสอบถาม ตามขอบเขตเนื้อหาการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ที่ระบุไว้ในขอบเขตเนื้อหาการวิจัย ซึ่งแบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับดีมาก ดี ผ่าน และไม่ผ่าน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
- เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ แบ่งออกเป็น 4 ตอน คือตอนที่ 1 สถานภาพทั่วๆ ไปของครูผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 7 ข้อตอนที่ 2 พฤติกรรมการสอนในการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ถามเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ การใช้สื่อการเรียนการสอน การวัดผลและการประเมินผล จำนวน 48 ข้อตอนที่ 3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความพร้อมทางคณิตศาสตร์ จำนวน 17 ข้อ ซึ่งเป็นลักษณะการประเมินของครูโดยภาพรวม จากนักเรียนทั้งชั้นตอนที่ 4 สภาพปัญหาในด้านต่างๆ ซึ่งเป็นคำถามปลายเปิด (Open-ended Questionnaires) ดังต่อไปนี้1.1 สภาพปัญหา ด้านหลักสูตรและแผนการจัดประสบการณ์ การจัดกิจกรรมการเรียน การสอน สื่อการเรียนการสอน การประเมินผล การใช้คำถาม การเสริมแรง ด้านอื่นๆ1.2 ความต้องการด้านหลักสูตรและแผนการจัดประสบการณ์ การจัดกิจกรรมการเรียน การสอน สื่อการเรียนการสอน การประเมินผล การใช้คำถาม การเสริมแรง ด้านอื่นๆ
วิธีการรวบรวมข้อมูล
-
การวิเคราะห์ข้อมูล
- ข้อมูลจากแบบสอบถามที่เป็นลักษณะเลือกตอบและแบบสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ ส่วนข้อมูลในแบบสอบถามปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์
สรุปผลวิจัย
- 1. การจัดกิจกรรม ประสบการณ์ การเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ พบว่า ครูส่วนใหญ่จัดกิจกรรมเป็นไปตามหลักการสอนทุกขั้นตอน กล่าวคือ มีขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ขั้นสรุปบทเรียน และการวัดผลประเมินผล ซึ่งขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เทคนิควิธีการที่ครูส่วนใหญ่นิยมใช้ คือ เพลง นิทาน เกม รูปภาพ และหุ่นมือ ขั้นจัดกิจกรรมการสอนครูสามารถจัดกิจกรรมการสอนสอดคล้องกับจุดประสงค์และเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ ในการสอนแต่ละครั้งครูมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย กิจกรรมที่ครูใช้มากที่สุด 5 กิจกรรมแรก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การสังเกต การเปรียบเทียบ การซักถาม เกม และการจับคู่ กับการจัดหมวดหมู่ สำหรับการสรุปบทเรียนครูส่วนใหญ่ใช้วิธีการซักถาม รองลงมาได้แก่ การสรุปความเห็นร่วมกันกับของนักเรียน การใช้เพลงและการอธิบาย ด้านการวัดผลประเมินผล ครูส่วนใหญ่ใช้วิธีการสังเกต โดยอาศัยแบบบันทึกการสังเกต ประกอบมากที่สุด รองลงมาได้แก่ การสัมภาษณ์และแฟ้มสะสมงานด้านสื่อการเรียนการสอน พบว่า สื่อที่ครูส่วนใหญ่นิยมใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ได้แก่ ของจริง ของจำลอง และสื่อที่ครูสร้างขึ้นเองโดยอาศัยเศษวัสดุและวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งการใช้สื่อแต่ละครั้งครูจะใช้ลักษณะเป็นสื่อประสมด้านการใช้คำถาม และการเสริมแรงพบว่า ครูใช้คำถามระหว่างการสอนในระดับมาก คำถามส่วนใหญ่เป็นคำถามประเภทความเข้าใจ การนำไปใช้ โดยการถามครูจะตั้งคำถามก่อนแล้วจึงเรียกนักเรียนตอบ และทิ้งช่วงเวลาให้เด็กคิดคำตอบ ขณะเดียวกันครูก็เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถามได้ตามความต้องการด้านการเสริมแรงนั้นพบว่า ความถี่ของการใช้การเสริมแรงของครูอยู่ในระดับปานกลาง วิธีการเสริมแรงที่ครูนิยมใช้มาก ได้แก่ การให้รางวัล การยอมรับความสำเร็จของนักเรียน และการให้คะแนน ซึ่งครูให้การเสริมแรงนักเรียนทั้งเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่มและทั้งชั้น2. ผลสัมฤทธิ์ด้านความพร้อมทางคณิตศาสตร์ จากการประเมินนักเรียนโดยภาพรวมทั้งชั้นของครูพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ผ่านจุดประสงค์ด้านความพร้อมทางคณิตศาสตร์ระดับดีมาก โดยครูร้อยละ 50 ขึ้นไป ประเมินให้นักเรียนระดับดีมากถึง 10 เรื่องจา ก 17 เรื่อง ตามขอบเขตเนื้อหาในหลักสูตร รองลงมาผ่านจุดประสงค์ระดับดี และผ่านตามลำดับ3. สภาพปัญหาและความต้องการ พบว่า มีบางชั้นเรียนที่มีนักเรียนชาวเขาเรียนปนอยู่กับนักเรียนปกติ ทำให้ครูประสบปัญหาด้านการสื่อสารและการจัดกิจกรรมอย่างมาก สื่อการสอนที่ส่วนกลางจัดซื้อให้ไม่สอดคล้องกับความต้องการของครู และขาดสื่อที่ถาวรที่ใช้ร่วมกันหลาย ๆ กิจกรรม และมีครูบางคนไม่ต้องการสอนระดับอนุบาล สำหรับความต้องการของครูนั้น ครูต้องการการอบรมหรือการเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการผลิตสื่อการเรียนในระดับนี้ ตลอดจนต้องการแผนการจัดประสบการณ์หรือหลักสูตรที่สอดคล้องกับผู้เรียนและท้องถิ่น
ข้อเสนอแนะ
- ข้อเสนอแนะทั่วไป1. หลักสูตรของกรมวิชาการหรือแปนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กอนุบาลของสำนักงานคณะ กรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติจัดทำขึ้นเป็นหลักสูตรแม่บทหรือแผนที่เขียนไว้เป็นกลางๆ สำหรับใช้กับโรงเรียนทั่วประเทศ ดังนั้นการที่ครูจะทำแผนการสอนจัดประสบการณ์นี้ไปใช้กับนักเรียนในชั้นเรียนของตนเองคงต้องมีการปรับปรุงหรือพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการที่ใกล้เคียงกัน อาจรวมกลุ่มกันเพื่อประชุมวางแผนและดำเนินการพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์ของตนโดยศูนย์วิชาการกลุ่มหรือศึกษานิเทศก์อำเภอน่าจะมีบทบาทเป็นแกนนำและให้การสนับสนุนครูในเรื่องดังกล่าว ตลอดจนมีการนิเทศติดตามผลการใช้แผนการจัดประสบการณ์ที่พัฒนาขึ้นอย่างใกล้ชิด2. เนื่องจากครูส่วนใหญ่มิได้สำเร็จการศึกษาด้านอนุบาลศึกษาหรือปฐมวันศึกษามาโดยตรงซึ่งมี ความจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานต้นสังกัดที่รับผิดชอบจะต้องจัดให้มีการเพิ่มพูนความรู้ เทคนิคประสบการณ์ทางการศึกษาระดับนี้ให้แก่ครูอยู่ตลอดเวลาและอย่างต่อเนื่อง ไม่จำเป็นรูปแบบของเอกสาร วารสาร คู่มือครู การนิเทศ หรือการอบรมการสัมมนา การประชุมปฏิบัติการและการศึกษาดูงานในโรงเรียนประสบความสำเร็จเพื่อให้ครูได้รับประสบการณ์แนวคิดใหม่ๆ และมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกันจะช่วยให้ครูมีความมั่นใจ และนำประสบการณ์ที่ได้ไปพัฒนาการเรียนการสอนของตนอย่างเป็นระบบและอย่างต่อเนื่อง3. ห้องเรียนที่เป็นกลุ่มประชากรในหลายๆ โรงเรียน มีนักเรียนชาวเขาเรียนร่วมกับนักเรียนพื้นราบทำ ให้ครูประสบปัญหาในการสื่อสารและการจัดกิจกรรม ซึ่งกรณีนี้ครูคงต้องให้ความสำคัญและความสนใจเป็นพิเศษ ตลอดจนต้องใช้ความอดทนอย่างสูง เนื่องจากธรรมชาติของผู้เรียนมีความแตกต่างกัน ครูควรศึกษาธรรมชาติและวัฒนธรรมของเด็กชาวเขาเหล่านั้นเพื่อนำมาเป็นข้อมูลประกอบการจัดกิจกรรมในชั้นเรียนตามความเหมาะสม วิธีการที่น่าจะเป็นประโยชน์ในการจัดกิจกรรมก็คือครูต้องใช้วิธีการสอนแบบธรรมชาติโดยพยายามพูดหรือใช้คำสั่งง่ายๆ สั้นๆ ประกอบการทำกิจกรรมการเรียน ไม่ควรยัดเยียดจนเด็กเกิดความรำคาญ ขณะเดียวกันครูควรใช้ท่าทางหรือการปฏิบัติพร้อมกับการพูดประกอบการใช้สื่อของจริง หรืออาจใช้เด็กที่มีความพร้อมทางภาษาทำให้ดูเป็นตัวอย่างประการสำคัญที่สุดที่ครูควรคำนึงถือ การจัดกิจกรรมนั้นควรยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริงเพื่อให้นักเรียนได้คิด สื่อสาร ได้ปฏิบัติและแสดงออก โดยครูจะต้องจัดกิจกรรม เกม สถานการณ์ เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสใช้ภาษาไทยมากที่สุด ซึ่งการจัดกิจกรรมนั้นอาจทำในหลายๆ ลักษณะ เช่น กิจกรรมเป็นกลุ่มเล็ก กิจกรรมปฏิบัติพร้อมกันทั้งชั้นหรือกิจกรรมเสรี ลักษณะการจัดกลุ่มก็สามารถทำได้หลายลักษณะ เช่น กลุ่มตามความสนใจ หรือจัดลักษณะผสมหรือกลุ่มตามความสามารถ เป็นต้น ขณะเดียวกันครูอาจนำเรื่องราว นิทาน การเล่น วัฒนธรรมของเด็กชาวเขามาสอดแทรกในการจัดกิจกรรมตามความเหมาะสมเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้วัฒนธรรมซึ่งกันและกัน และเพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกการแบ่งแยกระหว่างชาวเขากับชาวพื้นราบเกิดขึ้น ที่สำคัญครูจะต้องให้กำลังใจและให้การเสริมแรงแก่นักเรียนเมื่อนักเรียนประสบความสำเร็จหรือกรณีเกิดการท้อแท้ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป1. การพัฒนาหลักสูตรอนุบาลที่สอดคล้องกับท้องถิ่น2. ศึกษารูปแบบการจัดชั้นเรียนที่มีเด็กสองวัฒนธรรมอยู่ในชั้นเดียวกัน3. การศึกษาพฤติกรรมการสอนของครูในการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในการแนวลึก ซึ่งเป็นลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพ4. อิทธิพลของสื่อและสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ระดับปฐมวัย5. การพัฒนาสื่อ อุปกรณ์ที่มาตรฐาน ในการเตรียมความพร้อมด้านคณิตศาสตร์
วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2550
สวัสดีปีใหม่
happy new year
สวัสดีปีใหม่ค่ะอาจารย์ขอให้มีความสุขมากมากนะอาจารย์จ๋า
สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีความสุขในทุกๆเรื่องคิดหวังสิ่งใดสมความปราถนานะค่ะ
ขอคุณพระศรีรัตนตรัยช่วยคุ้มครอง
อาจารย์ที่น่ารัก
วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2550
สิ่งที่ได้จากการเรียน(11 ธ.ค. 2550)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)