วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2550

เพลงคณิตศาสตร์

เพลงลองนับดูสิ.

นิ้ว นิ้ว นิ้ว นิ้วมือมีข้างละห้า.

สองมือรวมกันเข้ามา นับนิ้วนั้นหนาได้เท่าไหร.

ฉันนับได้สิบนิ้วเอย.

บทความคณิตศาสตร์


แนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน(ยุดา กีรติรักษ์ )
ครูผู้สอนคงจะมีปัญหาที่ต้องถามตนเองว่า จะสอนคณิตศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร ก่อนอื่น เราคงต้องพิจารณาคำว่า "คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน" คำนี้น่าจะหมายถึงอย่างอะไร คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน น่าจะหมายถึง การใช้วิธีการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ในการแก้ไขปัญหาบางประการในชีวิตประจำวัน เช่น ถ้านักเรียนจะเดินทางจากจังหวัดแพร่มากรุงเทพฯ อยากจะทราบว่า ค่าใช้จ่ายในการเดินทางโดยทางรถไฟ กับรถยนต์โดยสารปรับอากาศ เมื่อรวมค่ารถรับจ้างจากสถานีรถไฟ หรือสถานีขนส่งสายเหนือที่นักเรียนจะต้องจ่ายแล้ว ควรจะเลือกเดินทางด้วยวิธีใดดี ปัญหาที่กล่าวมานี้ใช้การบวกในการแก้ปัญหา

ตัวอย่าง ของปัญหาที่ใช้การคำนวณร้อยละใน การแก้ปัญหา เช่น ถ้านักเรียนคนหนึ่ง ไปแข่งขันตอบปัญหาของหนังสือรายสัปดาห์ฉบับหนึ่ง ได้เงินรางวัลมา 50,000 บาท และจะใช้เงินจำนวนที่ได้ในอีก -1 เดือนข้างหน้า จีงคิดว่า ถ้านำเงินจำนวนนี้ไปฝากธนาคารไว้ก่อน โดยฝากในบัญชีเงินฝากประจำประเภท -1 เดือน ได้ดอกเบี้ยร้อยละ 8.5 แต่จะต้องเสียภาษี 15% ต่อปี กับถ้าฝากเงินแบบออมทรัพย์ ได้ดอกเบี้ยร้อยละ 6.75 ต่อปี นักเรียนควรจะฝากแบบใดจึงจะได้ดอกเบี้ยมากกว่ากัน เป็นต้น ปัญหาในชีวิตประจำวันในลักษณะดังกล่าว ครูผู้สอนอาจจะให้โจทย์ปัญหา และให้นักเรียนช่วยกันหาข้อมูลที่จะมาใช้แก้ปัญหา (เช่น หาอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคาร) แล้วมาช่วยกันหาคำตอบในชั่วโมงกิจกรรม หรือครูให้เป็นการบ้านพิเศษ ก็น่าจะเป็นวิธีการที่จะทำให้นักเรียนได้มองเห็น ประโยชน์ของคณิตศาสตร์ได้ โดยใช้คำถามทำนองนี้เป็นเครื่องมือ รวมทั้งจะเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในการเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้นด้วย

ตัวอย่างการจัดกิจกรรมการสอนคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน โดยยกตัวอย่างจากเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตัวนักเรียน โจทย์คำถามในลักษณะข้างต้น เป็นตัวอย่างในการที่จะเชื่อมโยงการแก้ปัญหาบางประการ ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งเป็นการฝึกให้นักเรียนรู้จักวางแผนการทำงาน โดยใช้คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือ โจทย์ในทำนองดังกล่าวนี้ มีหลายเรื่องที่ครูผู้สอนจะนำมาใช้ได้ ข้อที่ควรคำนึงถึงก็คือ เวลาจะให้โจทย์ในลักษณะนี้ ครูผู้สอนควรฝึกให้นักเรียนรู้จักไปหาข้อมูลมาด้วยตัวเอง โดยครูอาจจะแนะแหล่งที่จะไปหาข้อมูล และเมื่อนักเรียนแก้ปัญหาโจทย์ได้แล้ว ครูควรสรุปคำถาม และควรมีข้อเสนอแนะอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดความรู้ความคิดกว้างขวางขึ้น นอกเหนือจากการมีความรู้แต่เพียงการเรียนในชั้นเรียน ทั่งนี้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของครูผู้สอนว่า มีความพร้อมหรือไม่ และกิจกรรมดังกล่าวเหมาะสมกับชั้นเรียนของท่านหรือไม่ เพียงใดด้วย

ตัวอย่างงานวิจัยคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก

เนื้อหา
ความเป็นมา
- สังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างรวดเร็ว เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม และวิทยาการด้านต่าง ๆ รวมถึงการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ สะดวก กว้างขวาง คนในประเทศชาติในขณะเดียวกันควรได้รับการพัฒนาให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพและศักยภาพ การศึกษาจึงมีบทบาทโดยตรงในการสร้างคนของประเทศ รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของการศึกษาจึงมีนโยบายสนับสนุนการศึกษา ดังปรากฏในแผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 7 คือ การเปิดขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กทั้งระดับบนและระดับล่าง โดยในระดับล่างได้กำหนดให้โรงเรียนประถมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนทั้งในระดับเมืองและระดับท้องถิ่น จัดบริการการเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กอย่างน้อย 1 ปี ก่อนเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2535 หน้า 9) การจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษามีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างเสริมพัฒนาการของเด็กให้เจริญเติบโตเต็มศักยภาพในทุก ๆดาน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาและภาษา โดยจัดในลักษณะที่มุ่งเตรียมความพร้อมทางการเรียนให้แก่เด็ก เนื่องจากความพร้อมเป็นองค์ประกอบที่สุดยิ่งของการเรียนรู้ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2532 หน้า 1) การเตรียมความพร้อมในเด็กปฐมวัย หรือเด็กก่อนเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับจะช่วยสร้างทัศนติที่ดีต่อการเรียนของเด็ก ช่วยปูพื้นฐานให้เด็กดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข และพร้อมที่จะฝึกทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการเรียนในระดับประถมศึกษาได้อย่างมีคุณภาพต่อไปการจะพัฒนาความพร้อมหรือการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กนั้น อาจอยู่กับปัจจัยใหญ่ ๆ 2 ประการ คือ ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกตัวเด็ก ปัจจัยภายในตัวเด็กที่สำคัญอย่างหนึ่งคือวุฒิภาวะ ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ อายุของเด็กจะบอกถึงวุฒิภาวะและความพร้อมของเด็กแต่ละคนที่ไม่ใช่เรื่องตายตัว เด็กแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันไป บางครั้งทำให้เกิดความลำเอียงแก่เด็ก หากผู้สอนคิดว่าเด็กทุกคนมีความพร้อมที่จะเรียนเมื่อเริ่มเข้าโรงเรียน ทั้ง ๆ ที่บางคนมีความพร้อมมาก่อนหน้านี้ บางคนไม่พร้อมและอีกหลายๆ คนต้องอาศัยระยะเวลาอีกระยะหนึ่งจึงจะมีความพร้อม ส่วนปัจจัยภายนอกตัวเด็กคือสิ่งที่ผู้สอนจัดให้แก่เด็ก เพื่อการเตรียมความพร้อมตามจุดประสงค์ที่จัดประสบการณ์ตั้งเอาไว้ ดังจะเห็นความแตกต่างกันของความพร้อมในบุคคลหนึ่ง อาจต้องขึ้นกับปัจจัยทั้งภายในและภายนอกตัวเด็กเองคณิตศาสตร์เป็นวิชาทักษะพื้นฐานที่สำคัญวิชาหนึ่งที่จะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็ก อีกทั้งเป็นวิชาที่ครูและผู้ปกครองให้ความสำคัญเสมือนดรรชนีชี้บ่งระดับสติปัญญาของเด็กด้วย กระทรวงศึกษาธิการได้บรรจุวิชาคณิตศาสตร์ไว้ในหลักสูตรประถมศึกษา โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในหลักคณิตศาสตร์ รู้คุณค่านำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้และฝึกฝนให้คนมีเหตุผลมีความละเอียดถี่ถ้วน ถ้าไม่ได้ปูพื้นฐานประสบการณ์ที่ดีตั้งแต่เล็ก อาจส่งผลต่อทัศนคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ในอนาคตได้ ดังจะเห็นได้ว่าผู้ใหญ่หลายคนก็ไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ ฉะนั้นครูและผู้ปกครองควรปูพื้นฐานประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุขโดยผ่านสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ทางหู ตา จมูก ลิ้น และกายสัมผัส เนื่องจากเด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ดีกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรม เมื่อเด็กชั้นประถมศึกษาตอนต้น ครูจะสอนด้วยวิธีการใช้สัญลักษณ์คือสอนด้วยวาจา ภาษาเขียน โครงสร้างทางคณิตศาสตร์ เครื่องหมายหรือจำนวน และการทำแบบฝึกหัดให้จับคู่ภาพกับจำนวน ซึ่งดูคล้ายเป็นประสบการณ์รูปธรรม แต่ที่จริงแล้วการจับคู่สัญลักษณ์กับเครื่องหมายเป็นประสบการณ์นามธรรม ในระบบการเรียนการสอนในปัจจุบันที่สามารถพบเห็นได้บ่อย ๆ คือ ครูจะให้เด็กจับคู่รูปภาพกับสัญลักษณ์ในทั้ง 2 ระดับ คือ ระดับปฐมวัย และชั้นประถมศึกษาตอนต้น ในความเป็นจริงโครงสร้างการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยและเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 อาจไม่ต่างกันมากนัก ฉะนั้นเด็กระดับนี้ควรได้รับการจัดประสบการณ์ให้อย่างถูกต้องและเหมาะสมการสอนหรือการจัดประสบการณ์อย่างไม่เหมาะสม อาจทำให้เด็กมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ จากสิ่งที่พบในการเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัยดังที่กล่าวมา ทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาพฤติกรรมการสอนของครูที่จะส่งผลถึงการเตรียมความพร้อมและพัฒนาการด้านทักษะคณิตศาสตร์ให้กับเด็กที่ได้ผลดีและเหมาะสมโดยเลือกศึกษาจากครูผู้สอนเด็กก่อนวัยเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอเมืองเชียงใหม่ การวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ เพื่อ่ส่งเสริมการเตรียมความพร้อมด้านทักษะคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยหรือเด็กวัยก่อนประถมศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
แนวคิดทฤษฎี
1. พฤติกรรมการสอนของครู ในการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ครอบคลุมพฤติกรรมดังนี้ คือ

1) การจัดกิจกรรมประสบการณ์

2) การใช้สื่อการเรียนการสอน

3) การวัดผลและประเมินผล

4) การใช้คำถาม

5) การเสริมแรง

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ครอบคลุมเนื้อหาความพร้อมด้านต่าง ๆ ได้แก่

1) ความหมายสูงต่ำ

2) ความหมายเล็ก-ใหญ่

3) นับเรียงลำดับ 1-30

4) ความหมายหน้า-หลัง

5) ความหมายมาก-น้อย

6) รู้จักสี

7) รู้ค่าจำนวน 1-10

8) การสังเกตและมีขั้นตอน

9) รูปทรงเรขาคณิต

10) ความหมายอ้วน-ผอม

11) ความหมายใกล้-ไกล

12) ความหมายสั้น-ยาว

13) ความหมายบน-ล่าง

14) ความหมายบาง –หนา

15) ความหมายหนัก-เบา

16) ความหมายมี-ไม่มี

17) ลำดับที่ 1-10
วัตถุประสงค์
- 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสอนของครูในการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนประถมศึกษา2. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางด้านความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
สมมุติฐานการวิจัย
-
ระเบียบวิธีวิจัย
- การวิจัยเชิงสำรวจ
ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนในระดับอนุบาลปีที่ 2 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2541 จำนวน 35 คน จากโรงเรียน 31 โรงเรียน
ตัวแปร
-
นิยามศัพท์
- เด็กปฐมวัย หมายถึง นักเรียนชั้นอนุบาล 2 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกดัสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่พฤติกรรมการสอนของครู หมายถึง พฤติกรรมการจัดประสบการณ์เตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์โดยครอบคลุมพฤติกรรมด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งได้ศึกษาขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุปบทเรียน รวมถึงการใช้สื่อการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล การใช้คำถามและการเสริมแรงผลสัมฤทธิ์ทางด้านความพร้อมทางคณิตศาสตร์ หมายถึง ระดับ ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนทุกคนที่ได้จากกาประเมินโดยภาพรวมของครูผู้ตอบแบบสอบถาม ตามขอบเขตเนื้อหาการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ที่ระบุไว้ในขอบเขตเนื้อหาการวิจัย ซึ่งแบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับดีมาก ดี ผ่าน และไม่ผ่าน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
- เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ แบ่งออกเป็น 4 ตอน คือตอนที่ 1 สถานภาพทั่วๆ ไปของครูผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 7 ข้อตอนที่ 2 พฤติกรรมการสอนในการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ถามเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ การใช้สื่อการเรียนการสอน การวัดผลและการประเมินผล จำนวน 48 ข้อตอนที่ 3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความพร้อมทางคณิตศาสตร์ จำนวน 17 ข้อ ซึ่งเป็นลักษณะการประเมินของครูโดยภาพรวม จากนักเรียนทั้งชั้นตอนที่ 4 สภาพปัญหาในด้านต่างๆ ซึ่งเป็นคำถามปลายเปิด (Open-ended Questionnaires) ดังต่อไปนี้1.1 สภาพปัญหา ด้านหลักสูตรและแผนการจัดประสบการณ์ การจัดกิจกรรมการเรียน การสอน สื่อการเรียนการสอน การประเมินผล การใช้คำถาม การเสริมแรง ด้านอื่นๆ1.2 ความต้องการด้านหลักสูตรและแผนการจัดประสบการณ์ การจัดกิจกรรมการเรียน การสอน สื่อการเรียนการสอน การประเมินผล การใช้คำถาม การเสริมแรง ด้านอื่นๆ
วิธีการรวบรวมข้อมูล
-
การวิเคราะห์ข้อมูล
- ข้อมูลจากแบบสอบถามที่เป็นลักษณะเลือกตอบและแบบสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ ส่วนข้อมูลในแบบสอบถามปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์
สรุปผลวิจัย
- 1. การจัดกิจกรรม ประสบการณ์ การเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ พบว่า ครูส่วนใหญ่จัดกิจกรรมเป็นไปตามหลักการสอนทุกขั้นตอน กล่าวคือ มีขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ขั้นสรุปบทเรียน และการวัดผลประเมินผล ซึ่งขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เทคนิควิธีการที่ครูส่วนใหญ่นิยมใช้ คือ เพลง นิทาน เกม รูปภาพ และหุ่นมือ ขั้นจัดกิจกรรมการสอนครูสามารถจัดกิจกรรมการสอนสอดคล้องกับจุดประสงค์และเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ ในการสอนแต่ละครั้งครูมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย กิจกรรมที่ครูใช้มากที่สุด 5 กิจกรรมแรก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การสังเกต การเปรียบเทียบ การซักถาม เกม และการจับคู่ กับการจัดหมวดหมู่ สำหรับการสรุปบทเรียนครูส่วนใหญ่ใช้วิธีการซักถาม รองลงมาได้แก่ การสรุปความเห็นร่วมกันกับของนักเรียน การใช้เพลงและการอธิบาย ด้านการวัดผลประเมินผล ครูส่วนใหญ่ใช้วิธีการสังเกต โดยอาศัยแบบบันทึกการสังเกต ประกอบมากที่สุด รองลงมาได้แก่ การสัมภาษณ์และแฟ้มสะสมงานด้านสื่อการเรียนการสอน พบว่า สื่อที่ครูส่วนใหญ่นิยมใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ได้แก่ ของจริง ของจำลอง และสื่อที่ครูสร้างขึ้นเองโดยอาศัยเศษวัสดุและวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งการใช้สื่อแต่ละครั้งครูจะใช้ลักษณะเป็นสื่อประสมด้านการใช้คำถาม และการเสริมแรงพบว่า ครูใช้คำถามระหว่างการสอนในระดับมาก คำถามส่วนใหญ่เป็นคำถามประเภทความเข้าใจ การนำไปใช้ โดยการถามครูจะตั้งคำถามก่อนแล้วจึงเรียกนักเรียนตอบ และทิ้งช่วงเวลาให้เด็กคิดคำตอบ ขณะเดียวกันครูก็เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถามได้ตามความต้องการด้านการเสริมแรงนั้นพบว่า ความถี่ของการใช้การเสริมแรงของครูอยู่ในระดับปานกลาง วิธีการเสริมแรงที่ครูนิยมใช้มาก ได้แก่ การให้รางวัล การยอมรับความสำเร็จของนักเรียน และการให้คะแนน ซึ่งครูให้การเสริมแรงนักเรียนทั้งเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่มและทั้งชั้น2. ผลสัมฤทธิ์ด้านความพร้อมทางคณิตศาสตร์ จากการประเมินนักเรียนโดยภาพรวมทั้งชั้นของครูพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ผ่านจุดประสงค์ด้านความพร้อมทางคณิตศาสตร์ระดับดีมาก โดยครูร้อยละ 50 ขึ้นไป ประเมินให้นักเรียนระดับดีมากถึง 10 เรื่องจา ก 17 เรื่อง ตามขอบเขตเนื้อหาในหลักสูตร รองลงมาผ่านจุดประสงค์ระดับดี และผ่านตามลำดับ3. สภาพปัญหาและความต้องการ พบว่า มีบางชั้นเรียนที่มีนักเรียนชาวเขาเรียนปนอยู่กับนักเรียนปกติ ทำให้ครูประสบปัญหาด้านการสื่อสารและการจัดกิจกรรมอย่างมาก สื่อการสอนที่ส่วนกลางจัดซื้อให้ไม่สอดคล้องกับความต้องการของครู และขาดสื่อที่ถาวรที่ใช้ร่วมกันหลาย ๆ กิจกรรม และมีครูบางคนไม่ต้องการสอนระดับอนุบาล สำหรับความต้องการของครูนั้น ครูต้องการการอบรมหรือการเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการผลิตสื่อการเรียนในระดับนี้ ตลอดจนต้องการแผนการจัดประสบการณ์หรือหลักสูตรที่สอดคล้องกับผู้เรียนและท้องถิ่น
ข้อเสนอแนะ
- ข้อเสนอแนะทั่วไป1. หลักสูตรของกรมวิชาการหรือแปนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กอนุบาลของสำนักงานคณะ กรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติจัดทำขึ้นเป็นหลักสูตรแม่บทหรือแผนที่เขียนไว้เป็นกลางๆ สำหรับใช้กับโรงเรียนทั่วประเทศ ดังนั้นการที่ครูจะทำแผนการสอนจัดประสบการณ์นี้ไปใช้กับนักเรียนในชั้นเรียนของตนเองคงต้องมีการปรับปรุงหรือพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการที่ใกล้เคียงกัน อาจรวมกลุ่มกันเพื่อประชุมวางแผนและดำเนินการพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์ของตนโดยศูนย์วิชาการกลุ่มหรือศึกษานิเทศก์อำเภอน่าจะมีบทบาทเป็นแกนนำและให้การสนับสนุนครูในเรื่องดังกล่าว ตลอดจนมีการนิเทศติดตามผลการใช้แผนการจัดประสบการณ์ที่พัฒนาขึ้นอย่างใกล้ชิด2. เนื่องจากครูส่วนใหญ่มิได้สำเร็จการศึกษาด้านอนุบาลศึกษาหรือปฐมวันศึกษามาโดยตรงซึ่งมี ความจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานต้นสังกัดที่รับผิดชอบจะต้องจัดให้มีการเพิ่มพูนความรู้ เทคนิคประสบการณ์ทางการศึกษาระดับนี้ให้แก่ครูอยู่ตลอดเวลาและอย่างต่อเนื่อง ไม่จำเป็นรูปแบบของเอกสาร วารสาร คู่มือครู การนิเทศ หรือการอบรมการสัมมนา การประชุมปฏิบัติการและการศึกษาดูงานในโรงเรียนประสบความสำเร็จเพื่อให้ครูได้รับประสบการณ์แนวคิดใหม่ๆ และมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกันจะช่วยให้ครูมีความมั่นใจ และนำประสบการณ์ที่ได้ไปพัฒนาการเรียนการสอนของตนอย่างเป็นระบบและอย่างต่อเนื่อง3. ห้องเรียนที่เป็นกลุ่มประชากรในหลายๆ โรงเรียน มีนักเรียนชาวเขาเรียนร่วมกับนักเรียนพื้นราบทำ ให้ครูประสบปัญหาในการสื่อสารและการจัดกิจกรรม ซึ่งกรณีนี้ครูคงต้องให้ความสำคัญและความสนใจเป็นพิเศษ ตลอดจนต้องใช้ความอดทนอย่างสูง เนื่องจากธรรมชาติของผู้เรียนมีความแตกต่างกัน ครูควรศึกษาธรรมชาติและวัฒนธรรมของเด็กชาวเขาเหล่านั้นเพื่อนำมาเป็นข้อมูลประกอบการจัดกิจกรรมในชั้นเรียนตามความเหมาะสม วิธีการที่น่าจะเป็นประโยชน์ในการจัดกิจกรรมก็คือครูต้องใช้วิธีการสอนแบบธรรมชาติโดยพยายามพูดหรือใช้คำสั่งง่ายๆ สั้นๆ ประกอบการทำกิจกรรมการเรียน ไม่ควรยัดเยียดจนเด็กเกิดความรำคาญ ขณะเดียวกันครูควรใช้ท่าทางหรือการปฏิบัติพร้อมกับการพูดประกอบการใช้สื่อของจริง หรืออาจใช้เด็กที่มีความพร้อมทางภาษาทำให้ดูเป็นตัวอย่างประการสำคัญที่สุดที่ครูควรคำนึงถือ การจัดกิจกรรมนั้นควรยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริงเพื่อให้นักเรียนได้คิด สื่อสาร ได้ปฏิบัติและแสดงออก โดยครูจะต้องจัดกิจกรรม เกม สถานการณ์ เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสใช้ภาษาไทยมากที่สุด ซึ่งการจัดกิจกรรมนั้นอาจทำในหลายๆ ลักษณะ เช่น กิจกรรมเป็นกลุ่มเล็ก กิจกรรมปฏิบัติพร้อมกันทั้งชั้นหรือกิจกรรมเสรี ลักษณะการจัดกลุ่มก็สามารถทำได้หลายลักษณะ เช่น กลุ่มตามความสนใจ หรือจัดลักษณะผสมหรือกลุ่มตามความสามารถ เป็นต้น ขณะเดียวกันครูอาจนำเรื่องราว นิทาน การเล่น วัฒนธรรมของเด็กชาวเขามาสอดแทรกในการจัดกิจกรรมตามความเหมาะสมเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้วัฒนธรรมซึ่งกันและกัน และเพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกการแบ่งแยกระหว่างชาวเขากับชาวพื้นราบเกิดขึ้น ที่สำคัญครูจะต้องให้กำลังใจและให้การเสริมแรงแก่นักเรียนเมื่อนักเรียนประสบความสำเร็จหรือกรณีเกิดการท้อแท้ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป1. การพัฒนาหลักสูตรอนุบาลที่สอดคล้องกับท้องถิ่น2. ศึกษารูปแบบการจัดชั้นเรียนที่มีเด็กสองวัฒนธรรมอยู่ในชั้นเดียวกัน3. การศึกษาพฤติกรรมการสอนของครูในการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในการแนวลึก ซึ่งเป็นลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพ4. อิทธิพลของสื่อและสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ระดับปฐมวัย5. การพัฒนาสื่อ อุปกรณ์ที่มาตรฐาน ในการเตรียมความพร้อมด้านคณิตศาสตร์

วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2550

สวัสดีปีใหม่

happy new year
สวัสดีปีใหม่ค่ะอาจารย์ขอให้มีความสุขมากมากนะอาจารย์จ๋า
สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีความสุขในทุกๆเรื่องคิดหวังสิ่งใดสมความปราถนานะค่ะ
ขอคุณพระศรีรัตนตรัยช่วยคุ้มครอง
อาจารย์ที่น่ารัก
















วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2550

อยากโชว์



ส่งใจให้อาจารย์จ๋า


สิ่งที่ได้จากการเรียน(11 ธ.ค. 2550)


วันนี้ไปรับเด็กตอนเช้า มาเรียนสายไปนิดแต่ถามเพื่อนแล้วว่าเรียนอะไรบ้าง อาจารย์ให้ทำงานวิจัยให้เสร็จตอนบ่ายจึงไม่ต้องเรียน

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2550

เพลงคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก










เพลง การบวก ลบ คูณ หาร




การบวกกันนั้นหนา ค่าเพิ่มนั้นหนาหนูจ๋าอย่าหวั่น(ซ้ำ)


การลบลดลง ขอให้หนูจงพินิจให้ดี


อ่านโจทย์อีกที เอ้าเร็วซีแล้วลองคิดดู

การคูณกันนั้นหนา ค่าเพิ่มแน่หนาครั้งละเท่ากัน (ซ้ำ)

การหารลดลง ครั้งละเท่ากันจงพินิจให้ดี

อ่านโจทย์อีกที เอ้าเร็วซีแล้วลองคิดดู

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2550

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้จันทร์ที่ 3ธันวาคม 50





การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนากระบวนการคิด ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ผู้รียน ครูผู้สอน เนื้อหาวิชาและสิ่งแวดล้อม ครูผู้สอนเป็นผู้กำหนดมาตรฐานของสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ การเรียนจะอยู่ในรูปแบบของการถ่ายทอดความรู้จากครูสู่เด็ก

การคิดเชิงอนุรักษ์ เด็กรู้จักใช้เหตุผล อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แม้สิ่งต่างๆจะเปลี่ยนไป อาจจะไม่ได้ตอบตามที่ตาเห็น แต่มีเหตุผลมากขึ้นจากประสบการณ์ที่ผ่านมา

กิจกรรมประจำวัน



8.15-08.30 น. เข้าแถวเคารพธงชาติ

8.30-08.50 น. สำรวจการมาโรงเรียน สนาทนา ตรวจสุขภาพ

8.50-09.10 น. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

9.10-10.00 น. พักเข้าห้องน้ำ ล้างมือ รับประทานอาหารว่างเช้า

10.00-10.30 น. กิจกรรมในวงกลม

10.30-11.00 น. กิจกรรมสร้างสรรค์ การเล่นตามมุม

11.00-12.00 น. ล้างมือ รับประทานอาหารกลางวัน

12.00-14.00 น. นอนพักผ่อน

14.00-14.20 น. เก็บที่นอน เข้าห้องน้ำ ล้างหน้า

14.20-14.40 น. รับประทานอาหารว่างบ่าย

14.40-15.00 น. เกมการศึกษา